ให้นักศึกษาอ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
ตอบ จากการที่ผมได้อ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 คือการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีสาระสำคัญคือ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ร่วมกันของปรชาชนชาวไทย และให้ประชาชนมีบทบาทในการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ และตรวจสอบการทำงานของรัฐ อีกทั้งยังให้ประชาชนชาวไทยที่มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงในการเห็นชอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้
2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
ตอบ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
มาตรา 49
บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้อง
จัดให้อย่าง
ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้
ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรค หนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ
เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน
การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย
และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ
ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ
ศีลธรรมอันดีของประชาชน
หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ส่วนที่ 4 แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
มาตรา 80
รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการศึกษา ใน (3), (4) โดย
(3)พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ
จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(4)ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน
องค์การ ทางศาสนาและเอกชน
จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง
ยกตัวอย่าง
ตอบ 1.สภาผู้แทนราษฎร
ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 480 คน
แบบแบ่งเขต 400 คน
แบบสัดส่วน 80 คน
จังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน 3
คน ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ถ้ามีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกิน 3
คนให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งแต่ละเขตมีสมาชิกได้ 3 คน
2.
บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
1) มีสัญชาติไทย
แต่บุคคลผุ้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
2) อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1
มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
3) มีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า
90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
3.บุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
1) เป็นภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช
2) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
3)
ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
4) วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
ตอบ เราต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันของทุกๆคน และยังเป็นข้อตกลง บังคับให้ประชานชนชาวไทยทำตาม และปฎิบัติ เพื่อให้เกิดการมีระเบียบวินัย ความสามัคคีในการอยู่ร่วมกันในสังคม อีกทั้งเพื่อให้ชาวไทยอยุ่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข และสันติ
5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน
ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
ตอบ เหตุผลที่ต้องแก้ คือ เพื่อให้เป็นธรรมแก่ประชาชนชาวไทย และให้เหมาะสมกับยุคสมัยมากขึ้น แต่ผมคิดว่าถ้ามีการแก้ รัฐธรรมนูญต้องนึกถึงประชาชนชาวไทย และบ้านเมืองเป็นสำคัญ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น
6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน
และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ
มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
ตอบ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยพระมหากษัตริย์มิได้ทรงใช้อำนาจในการปกครองประเทศเหมือนในอดีต แต่พระองค์จะทรงใช้อำนาจอธิปไตย หรืออำนาจในการปกครองประเทศตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ พระองค์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติเพื่อออกกฎหมายบังคับใช้แก่ประชาชนผ่านทางรัฐสภา และทรงใช้อำนาจบริหารในการปกครองประเทศผ่านทางคณะรัฐมนตรี โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรี รวมทั้งทรงใช้อำนาจตุลาการอันเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่าง ๆ ผ่านทางศาล
ดังนั้นผมคิดว่าอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 อำนาจนี้ คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการจะต้องมีอำนาจในการทำงานเท่าเทียมกันและใช้อำนาจอย่างเหมาะสม เป็นกลาง ไม่ยกผลประโยชน์แก่ตนเอง หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้เกิดความเสถียรในการปกครองบ้านเมือง
ตอบ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยพระมหากษัตริย์มิได้ทรงใช้อำนาจในการปกครองประเทศเหมือนในอดีต แต่พระองค์จะทรงใช้อำนาจอธิปไตย หรืออำนาจในการปกครองประเทศตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ พระองค์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติเพื่อออกกฎหมายบังคับใช้แก่ประชาชนผ่านทางรัฐสภา และทรงใช้อำนาจบริหารในการปกครองประเทศผ่านทางคณะรัฐมนตรี โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรี รวมทั้งทรงใช้อำนาจตุลาการอันเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่าง ๆ ผ่านทางศาล
ดังนั้นผมคิดว่าอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 อำนาจนี้ คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการจะต้องมีอำนาจในการทำงานเท่าเทียมกันและใช้อำนาจอย่างเหมาะสม เป็นกลาง ไม่ยกผลประโยชน์แก่ตนเอง หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้เกิดความเสถียรในการปกครองบ้านเมือง