วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ทดสอบกลางภาค

  ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้  

1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร

 - กฎหมายคือข้อบังคับของรัฐาธิปัตย์ ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของพลเมือง หากใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษ รัฐาธิปัตย์ คือ ผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ (ของประเทศไทยรัฐาธิปัตย์ 
แบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายได้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ การบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่า ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ได้กำหนดมา มาใช้กับประชาชนในรัฐหรือประเทศนั้นให้ปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม หากผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมาย

2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัีฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
 - เห็นด้วย เนื่องจาก พ.ร.บ. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 กำหนดให้วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา เป็นวิชาชีพควบคุมการกำหนดอื่นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หากประกอบวิชาชีพควบคุมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือแสดงด้วยวิธีการใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมที่จะประกอบวิชาชีพ รวมทั้งสถานศึกษาที่รับผู้มิได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา จะต้องได้รับโทษตามที่กำหนดไว้

3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
 - แนวคิดในการระดมทรัพยากรของผม คือ การได้จัดการระดมทัพยากร ทั้งชุมชน หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชน ทางด้านเงินทุน วัสดุอุปกรณ์ และบุคลากร โดยได้ยึดหลักธรรมาภิบาล คือ   หลักนิติธรรม หลักความคุ้มค่า หลักคุณธรรม หลักความรับผิดชอบ หลักความโปร่งใส และหลักการมีส่วนรวม โดยใช้ทรัพยากรร่วมกันหรือแบ่งปันอุดหนุนกันอาจจัดในรูปแบบของกิจกรรมซึ่งมีความสอดคล้องกันกับหน่วยงานอื่นในเรื่องของวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์ร่วมกันโดยให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ของชุมชนในท้องถิ่นและสร้างหลักสูตรท้องถิ่นที่เหมาะสมและสอดคล้องกับชุมชน เช่น การทอดผ้าป่าจากศิษย์เก่า ขอความอนุเคราะห์การสนับสนุนทรัพยากรจากชุมชน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรม
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
 - รูปแบบการจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ
    1.การศึกษาในระบบ 
    2.การศึกษานอกระบบ
    3.การศึกษาตามอัธยาศัย  
   การศึกษาในระบบมี 2 ระดับ คือ
    1.การศึกษาขั้นพื้นฐาน
    2.การศึกษาระดับอุดมศึกษา

5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ - แตกต่างกัน คือ การศึกษาภาคบังคับในปัจจุบันกำหนดไว้ 9 ปี ส่วนการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปี

6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
 - การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
1.สำนักงานรัฐมนตรี
2.สำนักงานปลัดกระทรวง
3.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
4.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5.สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
6.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตาม 2 , 3 , 4 , 5 และ 6 มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546

 - เป็นการแก้ไขพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488 ให้เป็นกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา 

8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ  หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด 
 - ไม่ผิด เนื่องจากในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ได้มีข้อยกเว้นใน มาตรา 43 

9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง 
  - โทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ กฏหมาย กฏ ข้อบังคับ ระเบียบ และแบบธรรมเนียมที่กำหนดให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติตามหรืองดเว้นการปฏิบัติ 

 โทษทางวินัยมี 5 สถาน คือ
        ความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
        1. ภาคทัณฑ์ เป็นโทษสำหรับกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือนนอกจากนี้ ในกรณีกระทำความผิดวินัยเล็กน้อย และมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
        2. ตัดเงินเดือน เป็นการลงโทษตัดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนและเป็นจำนวนเดือน เช่น ตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 2 เดือน เมื่อพ้นเวลา2 เดือนแล้วก็จะได้รับเงินเดือนตามปกติ
        3. ลดเงินเดือน เป็นการลงโทษโดยลดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์เช่น ลดเงินเดือน 2% หรือ 4% ของอัตราเงินเดือนของผู้กระทำผิด

          ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
        4. ปลดออก เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ
        5. ไล่ออก เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยไม่ได้รับบำเหน็จบำนาญ

10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก  เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าใจของท่าน
 - “เด็ก” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
   “เด็กเร่ร่อน” หมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ อาศัยหลับนอนตามที่สาธารณะ
   “เด็กกำพร้า” หมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต
   “เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก” หมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่ทำให้เด็กได้รับความลำบาก หรือต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัย หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
   “เด็กพิการ” หมายความว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญา หรือจิตใจ
   “เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพที่นำไปสู่การกระทำผิดต่อกฎหมาย 
   “ทารุณกรรม” หมายความว่า การกระทำการใด ๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก การใช้เด็กให้ประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น